ถนนจระเข้

390 ฿

ผู้แต่ง บรูโน ชูลซ์,
ผู้แปล ดลสิทธิ์ บางคมบาง
ISBN 978-616-7787-44-2
จำนวน  หน้า
สำนักพิมพ์ คมบาง
ปีที่พิมพ์ 2563

 

หมวดหมู่: , ป้ายกำกับ:

รายละเอียดเพิ่มเติม

-นับเป็นเรื่องน่าตื่นเต้น นักแปลได้เปิดโลกการอ่านอีกครั้ง ด้วยการคัดสรรวรรณกรรมที่มีเอกลักษณ์และเป็นที่รู้จักในระดับสากลมาสู่นักอ่านไทย

-หลังจากตีพิมพ์ในครั้งแรกเมื่อปี 2544 ในช่วงต่อมาดลสิทธิ์ บางคมบาง ได้หยิบจับ ถนนจระเข้อีกครั้ง เพราะได้พบเรื่องสั้นเพิ่มอีก 3 เรื่อง ในการแปลเพิ่มครั้งนี้—ในที่สุดก็เป็นการแปลใหม่ในทุกเรื่องที่เคยแปลมาแล้ว

-งานแปลของดลสิทธิ์ บางคมบาง ยังคงความเป็นสำนวนแปลในวิธีที่ผู้แปลยึดถือ โดยไม่ยึดติดกับกรอบของไวยากรณ์ภาษาไทย ด้วยเชื่อว่า ในตัวภาษาแล้ว การวางรูปประโยคต่างๆ นั้นสามารถทำได้ ไม่จำเป็นต้องให้เป็นแบบที่คุ้นชิน

เพราะโลกวันนี้เปิดกว้างอย่างเหลือเกิน การอ่านจึงไม่จำเป็นต้องมีกรอบเกณฑ์ใดอีกแล้ว!

สำนักพิมพ์คมบางจัดพิมพ์ผลงานแปลของดลสิทธิ์ บางคมบาง เรื่อง ถนนจระเข้ ครั้งแรกเมื่อปี 2544 ชื่อของบรูโน ชูลซ์ นักเขียนโปแลนด์คนสำคัญของโลกจึงได้รับการกล่าวถึงในวงการวรรณกรรมไทยและเริ่มเป็นที่รู้จักของนักอ่านกลุ่มหนึ่ง กระทั่งในปี 2553 เรือนไข้ใต้ราศีนาฬิกาทราย เรื่องสั้นอีกเล่มของ ของบรูโน ชูลซ์ จึงได้ตีพิมพ์ การปรากฏงานเขียนของบรูโน ชูลซ์ในภาคภาษาไทยนั้น นับเป็นเรื่องน่าตื่นเต้น นักแปลได้เปิดโลกการอ่านอีกครั้ง ด้วยการคัดสรรวรรณกรรมที่มีเอกลักษณ์และเป็นที่รู้จักในระดับสากลมาสู่นักอ่านไทย นอกจากนั้นยังมีบทความที่ขยายอาณาเขตจากเรื่องวรรณกรรมไปสู่การบอกเล่าเรื่องราวของบรูโน ชูลซ์ในฐานะศิลปิน ผู้สร้างสรรค์ผลงานไว้มากมาย ดังในบทความ “ร่างหุ่นในพิพิธภัณฑ์ขี้ผึ้ง” ของยอดฉัตร บูพศิริ (ปาจารยสาร, 2010, หน้า 296-301.) และ “บรูโน ชูลซ์และโศกนาฏกรรมยามบ่าย” ของอนุสรณ์ ติปยานนท์ (สารคดี, กุมภาพันธ์ 2554, หน้า 167-170)

อีกหลายปีต่อมาดลสิทธิ์ บางคมบาง ได้หยิบจับถนนจระเข้อีกครั้ง เพราะได้พบเรื่องสั้นเพิ่มอีก 3 เรื่อง ในการแปลเพิ่มครั้งนี้ในที่สุดก็เป็นการแปลใหม่ในทุกเรื่องที่เคยแปลมาแล้ว

งานแปลของดลสิทธิ์ บางคมบาง ยังคงความเป็นสำนวนแปลในวิธีที่ผู้แปลยึดถือ โดยไม่ยึดติดกับกรอบของไวยากรณ์ภาษาไทย ด้วยเชื่อว่า ในตัวภาษาแล้ว การวางรูปประโยคต่างๆ นั้นสามารถทำได้ ไม่จำเป็นต้องให้เป็นแบบที่คุ้นชิน

ในการพิมพ์ครั้งนี้ สำนักพิมพ์คมบางปรับขนาดรูปเล่มให้เป็นฉบับพอดีมือ ด้วยมองว่าการพกพาหนังสือพอดีมือเปิดอ่านยามสะดวกจะยังคงได้รับความนิยม และเช่นกัน การอ่านวรรณกรรมระดับโลกนั้น ก็จะยังเป็นที่สนใจของคนทุกรุ่น ทุกแบบ ทุกแนว

เพราะโลกวันนี้เปิดกว้างอย่างเหลือเกิน การอ่านจึงไม่จำเป็นต้องมีกรอบเกณฑ์ใดอีกแล้ว!