เมื่อฉันนอนกำลังตาย

300 ฿

ผู้แต่ง วิลเลียม โฟล์คเนอร์
ผู้แปล ดลสิทธิ์ บางคมบาง
ISBN 9786167787404
จำนวน 257 หน้า
สำนักพิมพ์ คมบาง
ปีที่พิมพ์ 2563

 

รายละเอียดเพิ่มเติม

“ถ้าเป็นตอนนี้ที่ต้องตาย ก็ตอนนี้แหละที่มีความสุขที่สุด”

-เรื่องราวของคุณนายดัลโลเวย์ที่เปิดเรื่องด้วยฉากที่เธอกำลังจะไปซื้อดอกไม้เพื่อไปงานเลี้ยงและเธอก็พาเราจมลงไปสู่กระแสสำนึกเรื่องราวชีวิตของเธอ ความรัก ความไม่รัก ความเป็นหญิง และอื่นๆ ที่รายรอบ -ชื่อของ เวอร์จิเนีย วูล์ฟ นักเขียนหญิงชาวอังกฤษผู้มีประวัติชีวิตที่เต็มไปด้วยเรื่องราวที่เป็นปมฝังลึกในชีวิต สูญเสียพ่อในวัยเด็กและมีผลกระทบต่อจิตใจ ทำงานเขียนสลับกับความป่วยข้างในตลอดชีวิตและสุดท้ายเลือกจบชีวิตด้วยตัวเอง

– เวอร์จิเนีย วูล์ฟ เป็นนักเขียนแนวกระแสสำนึก (Stream of Consciousness) ร่วมสมัยเดียวกับเจมส์ จอยซ์ นักเขียนชาวไอริช ซึ่งมีผลงาน A portrait of an Artist as a Young Man

และ The Dubliners แปลเป็นภาษาไทยมาก่อนหน้านี้แล้ว โดยทั้งคู่นี้ต่างเกิดในปี 1882 และเสียชีวิตในปี 1941 ด้วยกัน และยังร่วมสมัยเดียวกับฟรันซ์ คาฟคา(1883 – 1924) นักเขียนชาวเชก นักเขียนแนวกระแสสำนึกอีกคนในฟากยุโรปตะวันออก

-ในการแปลครั้งนี้จึงเป็นความพยายามของผู้แปลในอันจะให้นักอ่านชาวไทยได้รู้จักตัวเนื้องานของนักเขียนคนสำคัญคนหนึ่งของศตวรรษที่ยี่สิบผู้นี้

ย้อนบันทึก การแปล คุณนายดัลโลเวย์ จากดลสิทธิ์ บางคมบาง ถึง เวอร์จิเนีย วูล์ฟ

เมื่อปี 2550 ในช่วงที่วงการวรรณกรรมแปลค่อนข้างเงียบเหงา สำนักพิมพ์คมบาง ใช้ชื่อ สำนักพิมพ์ชมนาด พิมพ์งานแปลวรรณกรรมระดับโลกเล่มหนึ่งขึ้น เป็นวรรณกรรมแนวกระแสสำนึก ของนักเขียนหญิงชาวอังกฤษที่ได้รับความสนใจจากทั่วโลก ทั้งเทคนิคการเขียน, แนวคิดเชิงสตรีนิยม และในเรื่องการทำอัตวินิบาตกรรม นักเขียนหญิงคนนั้นคือ เวอร์จิเนีย วูล์ฟ ด้วยการแปลของ ดลสิทธิ์ บางคมบาง ซึ่งก็คือนามใหม่ของนักแปลคนเก่า ที่ชื่อ สิทธิชัย แสงกระจ่าง ผลงานเรื่องนั้นคือ Mrs Dalloway ในชื่อไทยคือ คุณนายดัลโลเวย์

ผ่านไปจนถึงปีที่ 13 ในปี 2563 นี้สำนักพิมพ์คมบางได้พิมพ์ คุณนายดัลโลเวย์ เป็นครั้งที่ 2

ในบทความนี้จึงขอย้อนไปถึงความคิดของนักแปล ดลสิทธิ์ บางคมบาง ในการแปลคุณนายดัลโลเวย์ออกมาสู่วงการการอ่านในประเทศไทย

จากอดีตมาสู่ปัจจุบัน จากดลสิทธิ์ บางคมบาง ในการแปล คุณนายดัลโลเวย์

Mrs Dalloway เคยเป็นภาพยนตร์มาเมื่อหลายปีก่อน นำแสดงเป็น Mrs Dalloway โดยดารารุ่นใหญ่ Vanessa Redgrave และเมื่อไม่นานมานี้ก็มีภาพยนตร์ดัดแปลงและเสริมต่อเรื่องราวจากวรรณกรรมเรื่องเดียวกันนี้ ในชื่อ The Hours นำแสดงเป็น เวอร์จิเนีย วูล์ฟ ผู้เขียน โดย

ดาราดัง Nicole Kidman ซึ่งเป็นที่ต้อนรับไม่น้อย และนักอ่านคอวรรณกรรมคงได้ผ่านตากันมาแล้ว

ว่าไปแล้วชื่อของเวอร์จิเนีย วูล์ฟ เป็นที่กล่าวขวัญและรู้จักกันดีในแวดวงวรรณกรรมไทยมาเนิ่นนาน ในฐานะนักเขียนแนวกระแสสำนึก (Stream of Consciousness) ผู้มีผลงานอันน่าทึ่ง เป็นที่กล่าวขวัญและอยู่ในความนิยมของนักอ่านทั่วโลกมานานยาว เพียงแต่ผลงานของเธอไม่มีผู้ใดแปลออกมาเป็นภาษาไทยเท่านั้น

ในการแปลครั้งนี้จึงเป็นความพยายามของผู้แปลในอันจะให้นักอ่านชาวไทยได้รู้จักตัวเนื้องานของนักเขียนคนสำคัญคนหนึ่งของศตวรรษที่ยี่สิบผู้นี้ และ คุณนายดัลโลเวย์ เล่มที่ท่านถืออยู่นี้จึงเป็นผลงานเล่มแรกของเธอที่ได้รับการแปลเป็นภาษาไทย

เวอร์จิเนีย วูล์ฟ กับนักเขียนร่วมสมัย

เวอร์จิเนีย วูล์ฟ เป็นนักเขียนชาวอังกฤษ ร่วมสมัยเดียวกันพอดีกับเจมส์ จอยซ์ นักเขียนชาวไอริช ซึ่งมีผลงาน A portrait of an Artist as a Young Man และ The Dubliners แปลเป็นภาษาไทยมาก่อนหน้านี้แล้ว โดยทั้งคู่นี้ต่างเกิดในปี 1882 และเสียชีวิตในปี 1941 ด้วยกัน

นักเขียนแนวกระแสสำนึกอีกคนในฟากยุโรปตะวันออก ที่ร่วมสมัยเดียวกันกับเวอร์จิเนีย วูล์ฟ และมีผลงานแปลเป็นภาษาไทยหลายเล่มหลายสำนวนด้วยกัน เป็นที่รู้จักกันดีในหมู่นักอ่านคอวรรณกรรม ได้แก่ ฟรันซ์ คาฟคา (1883 – 1924)

นักอ่านที่ผ่านการอ่านงานเขียนของคาฟคามาก่อนหน้านี้ โดยเฉพาะในสำนวนแปลของผู้แปลในชื่อเล่ม ในความนิ่งนึก คงจะพอคุ้นเคยกับการอ่านงานเขียนในแนวกระแสสำนึก (Stream

of Consciousness) มาบ้าง และคงพบมาแล้วถึงความแตกต่างจากงานเขียนของนักเขียนอื่นโดยทั่วไป

คุณนายดัลโลเวย์ เล่มนี้ก็เช่นนั้น และอาจเป็นปัญหาอยู่บ้างสำหรับนักอ่านที่ยังไม่คุ้น แต่ผู้แปลเชื่อว่า เมื่อได้อ่านลึกเข้าไปในตัวเรื่องแล้ว เขาจะพบว่านี่เป็นประสบการณ์ในการอ่านที่แตกต่างอย่างยิ่ง โดยผู้อ่านจะสัมผัสได้ถึงชีวิตภายในของตัวละคอนได้ลึกกว่างานประเภทอื่นๆที่เขาได้เคยอ่านมา ทั้งเหมือนจะเสริมให้เขาต้องใช้จิตนาการที่ลึกมากขึ้นในการจะรับรสวรรณกรรมให้เป็นไปโดยเต็ม

เกี่ยวกับการแปลคุณนายดัลโลเวย์ของดลสิทธิ์ บางคมบาง

และก่อนเข้าสู่การอ่าน ผู้แปลขอชี้แจงเกี่ยวกับการใช้วรรค -ซึ่งนักอ่านบางคนอาจเห็นว่ามีมากเกินไป น่าจะรวบเข้าด้วยกันได้โดยไม่เสียความ- ว่า ผู้แปลใช้วรรคด้วยความมุ่งหมาย 1) แยกคำไม่ให้สับสน 2) คั่นความที่แทรกเข้ามา 3) ทอดเสียงท้ายคำที่ทิ้งวรรคให้ไปรับกับคำที่ตามมา 4) เป็นจังหวะให้กับเสียงของความคิด เช่นจังหวะของคลื่นทะเล ตามจังหวะของกระแสสำนึก ดังนั้นในการอ่านจึงอาจต้องทอดสายตาไปหาคำที่รับความกันกับคำในท้ายวรรคอยู่บ้าง ซึ่งจากการอ่านไปได้สักระยะก็จะจับกฎเกณฑ์ได้โดยง่าย

ผู้แปลหวังไว้กับตัวเองว่าจะมีโอกาสนำผลงานของเวอร์จิเนีย วูล์ฟ เรื่องอื่นๆ มาเสนออีกได้ในโอกาสข้างหน้า