โครงการ
การสัมมนาทางวิชาการเรื่อง “รวงทองส่องทางศิลป์”
3 – 4 พฤศจิกายน 2550
ณ หอประชุมมหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ
———————————
การสัมมนาและการแสดงดนตรี “รวงทองส่องทางศิลป์”
วันเสาร์ที่ 3 และวันอาทิตย์ที่ 4 พฤศจิกายน 2550 ณ หอประชุมมหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ กรุงเทพฯ
ด้วยการสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) และสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยศิลปากร

1.      หลักการและเหตุผล

      การจัดการสัมมนาทางวิชาการ พร้อมการแสดงดนตรีรายการ “รวงทองส่องทางศิลป์” อาจนับได้ว่าเป็นการจัดการสัมมนาต่อเนื่องจากการจัดสัมมนาการวิจารณ์เพลงไทยสากล พร้อมการแสดงดนตรี รายการ “สุนทราภรณ์
วิชาการ” ได้เคยจัดครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2532 ในในโอกาสครบรอบ 50 ปี วงดนตรีสุนทราภรณ์ ที่คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ต่อมาโครงการวิจัย “การวิจารณ์ในฐานะพลังทางปัญญาของสังคมร่วมสมัย” จัดการสัมมนาการวิจารณ์เพลงไทยสากล พร้อมการแสดงดนตรีอีก 2 ครั้ง คือ การจัดสัมมนาเรื่อง “มัณฑนาวิชาการ” และจัดการแสดงดนตรี “เบิกฟ้ามัณฑนา โมรากุล” เมื่อวันที่ 15-16 พฤศจิกายน 2546 และการจัดสัมมนาเรื่อง “เพ็ญศรีวิชาการ” พร้อมการจัดการแสดงดนตรี “แด่เพ็ญศรีคีตศิลปิน” เมื่อวันที่ 12-13 พฤศจิกายน 2548 ผลการจัดสัมมนาและรายการแสดงดนตรีทั้งสามครั้งนั้น นับว่าประสบความสำเร็จมาก
รวงทอง ทองลั่นธม ศิลปินแห่งชาติ เป็นผู้ที่มีผลงานในการขับร้องต่อเนื่องมาเป็นเวลาครึ่งศตวรรษ เธอเป็นแรงดลใจให้คีตกวีเอกของไทยได้สร้างงานที่เป็นอมตะขึ้นมามากมาย รวงทองไม่เคยหยุดอยู่กับที่ แต่แสวงหาตนเองและแสวงหาแนวทางใหม่ในการสร้างงานอยู่ตลอดเวลา ในการสัมมนาและการแสดงดนตรีในรายการ “รวงทองส่องทางศิลป์” วิทยากรจะร่วมกันวิเคราะห์ให้เห็นถึงวุฒิภาวะในศิลปะการขับร้องของรวงทอง และในขณะเดียวกัน รวงทองจะเสนอมิติใหม่ในการถ่ายทอดความรู้ด้านคีตศิลป์ที่สั่งสมมาในรายการ “ชั้นเรียนตัวอย่าง” (Master Class) เป็นครั้งแรก ผู้ที่เข้าร่วมการสัมมนาจะได้มีโอกาสชมการแสดงดนตรี โดยรวงทอง ร่วมกับวงดนตรีสุนทราภรณ์ และศิลปินรับเชิญด้วย

2.      วัตถุประสงค์
2.1      วิเคราะห์และวิจารณ์ผลงานเพลงที่รวงทอง ทองลั่นธมขับร้องอย่างเป็นวิชาการ
2.2      ศึกษาภูมิหลังซึ่งมีส่วนเสริมพัฒนาการและวุฒิภาวะในการขับร้องเพลงของรวงทอง ทองลั่นธมจนเป็นนักร้องที่โดดเด่นและเป็นต้นแบบของนักร้องรุ่นต่อมา
2.3      ศึกษาแนวทางการตีความเพลงรวงทองสำหรับปัจจุบันและอนาคต
2.4      ศึกษาการถ่ายทอดความรู้ด้านสั่งคีตศิลป์ที่คุณรวงทองสั่งสมมาในรายการ “ชั้นเรียนตัวอย่าง” (master class)
2.5      ร่วมแสดงมุฑิตาจิตเพื่อเป็นเกียรติแก่ศิลปินแห่งชาติ รวงทอง ทองลั่นธม ในโอกาสมีอายุครบ 70 ปี เมื่อปี 2550

3.      ผู้รับผิดชอบ
โครงการวิจัย “การวิจารณ์ในฐานะปรากฏการณ์ร่วมสมัยเพื่อพัฒนาความรู้ด้านสังคมศาสตร์การวิจารณ์” โดยการสนับสนุนของ สกว. ร่วมกับ มหาวิทยาลัยศิลปากร และสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยศิลปากร

4.      วัน เวลา และสถานที่
วันเสาร์ที่ 3 และ วันอาทิตย์ที่ 4 พฤศจิกายน 2550 เวลา 9.00 – 18.00 น. ณ หอประชุมมหาวิทยาลัย
ศิลปากร วังท่าพระ ถนนหน้าพระลาน กรุงเทพฯ

5.      ผู้เข้าร่วมสัมมนา
อาจารย์จากสถาบันการศึกษาทั้งในระดับมัธยมศึกษาและอุดมศึกษา นิสิตนักศึกษาในระดับปริญญาตรีและบัณฑิตศึกษา และผู้สนใจทั่วไป จำนวนประมาณ 100 คน ส่วนผู้สนใจเฉพาะการแสดงและการขับร้องของวงดนตรีสุนทราภรณ์สามารถซื้อบัตรเข้าชมได้ตามราคาที่กำหนด

6.      ลักษณะกิจกรรม
กิจกรรมแบ่งเป็น 2 ภาค
      ภาค 1       การสัมมนาทางวิชาการเรื่อง “รวงทองส่องทางศิลป์” ในวันเสาร์ที่ 3 พฤศจิกายน 2550 เวลา 8.30 – 15.00 น. และวันอาทิตย์ที่ 4 พฤศจิกายน 2546 เวลา 9.00 – 12.00 น. ณ หอประชุมมหาวิทยาลัยศิลปากร
      ภาค 2 การแสดงดนตรีของวงสุนทราภรณ์ วันอาทิตย์ที่ 4 พฤศจิกายน 2546 เวลา 14.00 – 18.00 น. ณ หอประชุมมหาวิทยาลัยศิลปากร

7.      ผลที่คาดว่าจะได้รับ
คาดว่าผู้เข้าร่วมสัมมนาจะได้รับผลดังนี้
7.1      องค์ความรู้ใหม่ที่เกิดจากเพลงไทยสากล
7.2      แนวทางการประเมินคุณค่าคีตศิลป์โดยเฉพาะเพลงไทยสากล
7.3      แนวทางการสืบทอดผลงานทางคีตศิลป์ที่ทรงคุณค่า
7.4      ความสำนึกเชิงวิจารณ์ในหมู่มหาชนผู้ฟังเพลงไทยสากล

      
—————————————–

การสัมมนาและการแสดงดนตรี “รวงทองส่องทางศิลป์”
วันเสาร์ที่ 3 และวันอาทิตย์ที่ 4 พฤศจิกายน 2550 ณ หอประชุมมหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ กรุงเทพฯ
ด้วยการสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) และสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยศิลปากร
——————————————

วันเสาร์ที่ 3 พฤศจิกายน 2550

08.30 – 08.40 น.            ลงทะเบียน
08.45 – 09.00 น.            ผศ. ดร. ธีระ นุชเปี่ยม หัวหน้าโครงการ กล่าวถึงจุดประสงค์การจัดสัมมนาฯ
09.00 – 10.30 น.            อภิปราย “วุฒิภาวะของศิลปิน” โดย
                              ศาสตราจารย์ ดร. เจตนา นาควัชระ
                              ดร. วิษณุ วัรญญู
                              อาจารย์นรอรรถ จันทร์กล่ำ
                              ดำเนินรายการโดย ผศ. สุวรรณา เกรียงไกรเพ็ชร์

10.30 – 10.45 น.            พักรับประทานอาหารว่าง

10.45 – 12.00 น.            อภิปราย “การตีความเพลง” โดย
                              คุณรวงทอง ทองลั่นธม
                              ดร. ศุภชัย จันทร์สุวรรณ์ (ศิลปินแห่งชาติ)
                              คุณเทิดพัฒน์ พัฒนศิษฏางกูร
                              ดำเนินรายการโดย ผศ. สุวรรณา เกรียงไกรเพ็ชร์

12.00 – 13.00 น.            พักรับประทานอาหารกลางวัน (ตามอัธยาศัย)

13.00 – 15.00 น.            สาธิต “ชั้นเรียนตัวอย่าง” (Master Class) โดย คุณรวงทอง ทองลั่นธม

15.00 น.                  รับประทานอาหารว่าง

วันอาทิตย์ที่ 4 พฤศจิกายน 2550
08.30 – 09.00 น.            ลงทะเบียน
09.00 – 10.30 น.            แนะนำเพลงที่จะใช้ในการแสดงดนตรี (รวงทองส่องทางศิลป์)
                              ม.ร.ว. ถนัดศรี สวัสดิวัตน
ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นพ. พูนพิศ อมาตยกุล
คุณจารุลินทร์ มุสิกะพงษ์
                  ดำเนินรายการโดย รศ. จุไรรัตน์ ลักษระศิริ

10.30 – 10.45 น.            พักรับประทานอาหารว่าง

10.45 – 12.00 น.            ผู้ร่วมสัมมนาแสดงความคิดเห็น
12.00 – 12.30 น.            สรุปการสัมมนา

12.30 – 13.30 น.            พักรับประทานอาหารกลางวัน (ตามอัธยาศัย)

14.00 -17.00 น.            ชมการแสดงดนตรี

•      ค่าสัมมนา 700 บาท (รวมค่าเอกสาร อาหารว่าง และค่าบัตรเข้าชมการแสดง )

ใบสมัครเข้าร่วมการสัมมนา เรื่อง “รวงทองส่องทางศิลป์”
วันเสาร์ที่ 3 และวันอาทิตย์ที่ 4 พฤศจิกายน 2550
ณ หอประชุมมหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ กรุงเทพฯ

(โดยการสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ร่วมกับมหาวิทยาลัยศิลปากร และสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยศิลปากร)
——————————————————

1. ชื่อ ………………………………………….       นามสกุล ………………………………………………
2. เพศ ……………..             อายุ ……………. ปี             อาชีพ …………………………….………………
      ตำแหน่งทางวิชาการ ……………………………………………………………….………(โปรดระบุถ้ามี)
3. ที่อยู่ที่ติดต่อได้สะดวก ………………………………………………………………………………………
       ………………………………………………………………………………………………………………..
       โทรศัพท์ : ………………………………………      โทรสาร : ……………………………………………
       E-mail : …………………………………………………………………………………………………..
4. การศึกษาขั้นสูงสุด ……………………………..      สาขา ………………………………………………
       จากสถาบัน ……………………………………………………………………………………………….

โปรดส่งใบสมัครกลับไปภายในวันศุกร์ที่ 26 ตุลาคม 2550 ที่
โครงการวิจัย “การวิจารณ์ในฐานะปรากฏการณ์ร่วมสมัยเพื่อพัฒนาความรู้ด้านสังคมศาสตร์การวิจารณ์”
ชั้น 8 ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร ถนนบรมราชชนนี ตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170
โทรศัพท์ : 0-2435-3962: /โทรสาร : 0-2434-6257 E-mail : [email protected], [email protected]

•      ค่าลงทะเบียน 700 บาท (รวมค่าเอกสาร ค่าอาหารว่าง และ ค่าบัตรเข้าชมการแสดงดนตรี)
•      การชำระค่าลงทะเบียน ขอให้ชำระเงินโดยฝากเข้าบัญชีออมทรัพย์ ธนาคารทหารไทย สาขาย่อยตลิ่งชัน ชื่อบัญชี นายจักรนาท นาคทอง เลขบัญชี 134-2-12507-5 ภายในวันที่ 26 ตุลาคม 2550 และขอความกรุณาช่วย fax ใบนำฝากมายังโครงการฯเพื่อเป็นหลักฐาน

       กำหนดปิดรับสมัคร วันศุกร์ที่ 25 ตุลาคม 2550